อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อ่านบทความเรื่อง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

https://joaw-ying.com/travel/%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88/

เผยแพร่ – June 7, 2012 ในหมวด ภาคกลาง

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

สภาพภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้รับการการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,356,500 ไร่ ครอบคลุมเนื้อที่ 4 จังหวัด คือ สระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก

ลักษณะทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีระดับความสูงแตกต่างกันตั้งแต่ระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลตามแนวเขตอุทยานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงระดับความสูง 1,351เมตร จากระดับน้ำทะเล ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ ทางด้านทิศตะวันออก ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ลาดต่ำ ส่วนทางทิศเหนือความลาดชันน้อยจนถึงปานกลาง ทิศทางความลาดชันส่วนใหญ่มุ่งสู่ถนนมิตรภาพ ในขณะที่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันโดดเด่นขึ้นมาจากที่ราบ ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรนอกเขตอุทยานฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะคล้ายเป็นกำแพงภูเขาตามแนวเขตอุทยานฯ จึงเรียกว่า เขากำแพง และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก โดยมียอดเขาที่สำคัญอยู่ 6 ยอดด้วยกัน คือ เขาแหลม (1,326 เมตร) บริเวณทิศเหนือ เขาร่ม (1,351 เมตร) และเขาเขียว (1,292 เมตร) บริเวณตอนกลางเขากำแพง (875 เมตร) บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเขาสามยอด (1,142 เมตร) กับเขาฟ้าผ่า (1,078 เมตร) บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยานฯ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จุดชมวิวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
จุดชมวิวเป็นสถานที่ที่สามารถมองเห็นภาพภูมิประเทศได้บริเวณกว้าง มีทัศนียภาพที่สวยงาม มักอยู่ตาม ยอดเขา ไหล่เขา หรือทุ่งกว้าง ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีจุดชมวิวที่น่าสนใจและได้รับความนิยมจากนักท่อง เที่ยวหลายแห่ง

จุดชมวิว ก.ม. 18.5 (เส้นทางด่านเนินหอม-แยกศูนย์ฝึกอบรม)
ตั้งอยู่ริมถนน บริเวณ ก.ม. 18.5 เชิงเขาสมอปูนมีซุ้มสำหรับนั่งพักชมทัศนียภาพของพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างเขต ป่าเขาใหญ่กับพื้นที่เกษตรกรรมพื้นราบของ จ. นครนายกและปราจีนบุรี

จุดชมวิวหัวเขา ก.ม. 30 (เส้นทางด่านตรวจ อ.ปากช่อง – ที่ทำการอุทยานฯ)
ตั้งอยู่ที่ ก.ม.30 ถนนธนะรัชต์ ระดับความสูงประมาณ 680 เมตร จากระดับน้ำทะเล ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 6 ก.ม. จุดชมวิวนี้ทางอุทยานฯได้จัดทำป้ายอธิบายข้อมูลของภูมิประเทศไว้ทำให้นัก ท่องเที่ยวสามารถรู้ตำแหน่งของภูมิประเทศที่มองเห็นได้ ที่ชมวิวแห่งนี้สามารถมองเห็นของหุบเขาที่ราบ ซึ่งเป็นทุ่งนาของบ้านท่ามะปรางและบ้านหัวฝ้าย ส่วนทิวทัศน์ที่เห็นจะเป็น ภูเขาที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ได้แก่ เขาแผงม้า และนอกเขตอุทยานฯ ได้แก่ เขาวังหิน เขาผาแจง เขาริมห้วย เขาลำชะนี เขาแสงคำ และเขาไม้จันทร์

จุดชมวิวเขาเขียว ก.ม. 12(เส้นทางแยกเขาเขียว – สถานีทวนสัญญานกองทัพอากาศ)
จุดชมวิวเขาเขียวหรือที่รู้จักกันว่า ผาเดียวดาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 900 เมตร เดิมไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักแต่ปัจจุบันเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ตั้งอยู่บนเขาเขียว บริเวณ ก.ม.12 เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติอีกเส้นหนึ่งของอุทยานฯ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก พรรณไม้ที่ขึ้นในบริเวณเป็นพรรณไม้ที่หายาก เช่น สนสามพันปี มอส หญ้าข้าวก่ำ เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของเลียงผา บริเวณหน้าสามารถมองเห็นเขาร่ม อยู่ตรงหน้า และมองเห็นทุ่งงูเหลือมอยู่ทางทิศใต้ได้อย่างชัดเจน(หากอากาศแจ่มใส) เดิมบริเวณพื้นหน้าผาเดียวดายมีมอสปกคลุมเหมือนกับมีพรมกำมะหยี่ปูรองไว้มีน้ำชื้นแฉะตลอด แต่เนื่องจากถูกนักท่องเที่ยวเหยียบย่ำตลอดเวลาทำให้ตายหมด จนปัจจุบันกลายเป็นผงทรายสีขาวแทน แต่ถ้าหากสังเกตให้ดีก็จะยังพอเห็นร่องรอยของต้นไม้ที่แห้งตายอยู่บริเวณหน้าผาด้านล่างอยู่บ้าง เส้นทางเส้นนี้เป็นที่นิยมของนักดูนกมาก เพราะมีนกหลายชนิดที่อาศัยและหากินอยู่ในบริเวณนี้ ช่วงเย็นๆ บางวันอาจได้เห็นฝูงนกเงือกบินกลับรังเป็นจำนวนมาก เคยมีคนเคยเห็นและนับได้ถึง 80 ตัวเลยทีเดียว

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ที่มา: http://www.dnp.go.th/mfcd3/kaoyai.htm

จุดชมวิว อ่างเก็บน้ำมอสิงโต (ก.ม.37)
ตั้งอยู่บริเวณทางแยกมอสิงโต ก.ม.37 คำว่า มอ เป็นภาษาท้องถิ่นอีสาน ใช้เรียก หรือเนินเขา หรือภูเขาลูกเล็กๆ เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวไร่พริกที่เคยบุกเบิกถางป่ามาเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ชื่อว่าหมู่บ้านบุขนุน จนกระทั่งทางการได้มีคำสั่งให้ย้ายลงมา และเมื่อปี 2506 กองทัพอากาศได้ใช้เป็นที่ทำการชั่วคราวในการเตรียมการก่อสร้างสถานีเรดาร์ อ่างเก็บน้ำนี้สร้างกั้นลำห้วยเล็กๆ ที่ไหลไปรวมกับห้วยระย้าบริเวณ อาคารโภชนาคารอาคารศูนย์ฝึกอบรม ทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะช่วงเย็น ซึ่งสามารถชมบรรยากาศของพระอาทิตย์ตกดินได้ดียิ่ง

จุดชมวิว ก.ม.4 (เส้นทางแยกศูนย์ฝึกอบรม-ผากล้วยไม้-เหวสุวัติ )
ตั้งอยู่บริเวณ กม. 4 จากแยกศูนย์ฝึกอบรมฯ เดินขึ้นเนินจากลานจอดรถเล็กน้อย จุดชมวิวจะอยู่บริเวณยอดเนินสามารถมองเห็นมอสิงโต เขาสามยอด เป็นจุดชมวิวในบรรยากาศพระอาทิตย์ตกดินได้ดีอีกแห่งหนึ่ง จากบริเวณนี้มีเส้นทางจักรยานเสือภูเขาลัดเลาะผ่านแนวป่าและทุ่งหญ้า หนองน้ำ ซึ่งเป็นหาอาหารของสัตว์ พวก เก้ง กวาง ไปออกบริเวณถนนที่ผ่านสนามกอล์ฟเก่าได้

การเดินทางโดยสะดวกจากกรุงเทพฯ – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ที่มา: http://www.dnp.go.th/
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

โดยรถส่วนตัว สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่

  • เส้นทางที่ 1 เริ่มต้นจาก แยก อ.รังสิต – อ.องครักษ์ ทางหลวงหมายเลข 305 เมื่อถึง แยก อ.ปากพลี จ.นครนายก แยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ ทางหลวงหมายเลข 33 ประมาณ 23 กม. ถึงวงเวียนแยกนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวง หมายเลข 3077 ประมาณ 10 กม. จะถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขับรถขึ้นเขาอีกประมาณ 30 ก.ม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
  • เส้นทางที่ 2 เริ่มต้นจาก แยก อ.รังสิต – สระบุรี ทางหลวงหมายเลข 1 แยกเลี้ยวขวาที่ จ.สระบุรี ใช้เส้นทางหมายเลข 2 สระบุรี – แยก อ.ปากช่อง วนรถขึ้นสะพานข้ามแยก เข้าสู่ ทางหลวงหมายเลข 2090 ประมาณ 20 ก.ม. จะถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จากด่านขับรถขึ้นเขาประมาณ 10 ก.ม. จะถึงที่ทำการอุทยานฯ คุณสามารถสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่และเริ่มต้นการท่องเที่ยว ณ จุดนี้
  • โดยรถไฟ ขึ้นรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ลงที่สถานี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา แล้วต่อรถสองแถวที่ตลาด อ.ปากช่อง – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานฯ แล้วโบกรถต่อขึ้นไปที่ทำการอุทยานฯ
  • รถโดยสารประจำทาง เส้นทางที่ 1 ขึ้นรถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา หรือมาจากที่อื่น ให้ลงที่แยกเข้า อ.ปากช่อง (กรณีที่รถโดยสารไม่เข้าตัว อ.ปากช่อง) ขึ้นรถสองแถวประจำทาง ต่อเข้า ด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานฯ ประมาณ 20 กม. แล้วโบกรถต่อขึ้นไปที่ทำการอุทยานฯ
  • รถโดยสารประจำทาง เส้นทางที่ 2 ขึ้นโดยสารรถประจำทาง กรุงเทพฯ – ปราจีนบุรี มาลงที่แยกวงเวียนนเรศวร (แยกเข้า จ.ปราจีนบุรี) ยืนรอโบกรถหรือเหมารถมอเตอร์ไซด์ ที่แยกนี้ ลงที่ด่านเนินหอม (ด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานฯ) แล้วโบกรถต่อขึ้นอุทยานฯ
  • หมายเหตุ เนื่องจาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไม่มีรถโดยสารประจำทาง ผ่านขึ้นอุทยานฯโดยตรง จึงต้องหารถต่อไปลงที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานฯ แล้วจึงหาโบกรถต่อขึ้นไป หารถเหมาที่ อ.ปากช่อง หรือ ปราจีนบุรี รถประจำทางในท้องถิ่นจะหมดระยะที่ด่านเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้เป็นอุปสรรค์บ้างสำหรับท่านที่ไม่คุณเคย
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ที่มา: http://www.dnp.go.th/

อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของอุทยานฯ

  • ค่าธรรมเนียมรถยนต์ คันละ 30 บาท ( เปิดให้ขึ้นตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น.)
  • ค่าธรรมเนียมบุคคล คนละ 20 บาท (เด็ก 10 บาท) เฉพาะชาวต่างประเทศ คนละ 200 บาท (เด็ก 100บาท) ( ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ )
  • ค่าธรรมเนียมที่พัก ค่ายเยาวชน 20 บาท/คน/คืน (ไม่มีเครื่องนอนให้)
  • ค่าธรรมเนียมกางเต็นท์ 30 บาท/คน/คืน (เต็นท์ส่วนตัว)
  • ค่าเช่าเต็นท์ 80,120,150 บาท/คืน (เต็นท์ขนาด 2, 4และ 6 คน)
  • ค่าเช่าจักรยานเสือภูเขา วันละ 250 บาท/ชั่วโมงละ 40 บาท
แผนที่เขาใหญ่

แผนที่เขาใหญ่

แผนที่เขาใหญ่

ต้องขออภัยด้วยที่ไม่สามารถให้ที่มาของรูปภาพแผนที่เขาใหญ่ได้ เนื่องจากเก็บเอาไว้นานมากเลยจำไม่ได้ว่า save แผนที่เขาใหญ่มาจากเว็บไหน